หาอะไรก็เจอ

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปูนา เป็นอาชืพ

การเลี้ยงปูนา


การเลี้ยง "ปูนา" สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจ

ทำไมปูนาถึงกัดต้นกินข้าว : คำตอบที่ปราชญ์ชาวบ้านกำลังค้นหา
..... ปูนาน่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ ถ้ารู้จักปูตัวนี้ดีพอ ปูนาก็น่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกตัวหนึ่ง ...

ปูนาเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่มีกระดองแข็งหุ้มลำตัว กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีน้ำตาลดำหรือน้ำตาลม่วง กระดองด้านหน้าจะโค้งมนกลมและกระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบและขอบบนมีหนาม งอกออกมา ปูนามีตา 2 ตา สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตาและเหนือเบ้าตามีปุ่มเล็กๆ ข้างละปุ่ม มีปากอยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง

ปูมีขาทั้งหมด 5 คู่ โดยขาคู่แรกนั้นมีขนาดใหญ่เรียกว่าก้ามหนีบใช้สำหรับจับสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เป็นอาหาร ก้ามของปูตัวผู้จะใหญ่กว่าก้ามของตัวเมีย ก้ามซ้ายและก้ามขวาจะใหญ่ไม่เท่ากันและมักจะใหญ่สลับข้างกัน ตัวปูนั้นประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนท้องมีลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น เรียกว่า จับปิ้ง จับปิ้งของปูตัวผู้นั้นมีขนาดเล็กแต่จับปิ้งของปูตัวเมียมีลักษณะกลมและ กว้าง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะใช้สำหรับเก็บไข่และลูกปูไว้ ส่วนปลายของจับปิ้งจะใช้เป็นช่องเพื่อใช้ในการขับถ่าย

แหล่งที่อยู่
ปูชอบขุดรูในทุ่งนา คันนา คันคูหรือคันคลองโดยจะอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำและแหล่งอาหารซึ่งใช้เป็น ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ตำแหน่งและลักษณะของรูปูนานั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยส่วนใหญ่บริเวณที่ปูขุดรูนั้นจะอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง โดยตำแหน่งของรูปูจะเอียงเล็กน้อยและปากรูจะอยู่เหนือน้ำหรือต่ำกว่าน้ำเล็ก น้อยเพื่อความสะดวกในการเข้าออก รูปูจะเอียงทำมุมประมาณ 30-60 องศากับแนวระดับ ส่วนใหญ่แล้วรูปูจะตรงไม่คดเคี้ยว ในบริเวณที่มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่น้ำตื้นมากรูปูจะอยู่ไม่ลึกนักและจะ ขนานไปกับพื้นดิน


ฤดูและวิธีการผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม โดยปูตัวเมียจะหงายส่วนท้องขึ้นและเปิดจับปิ้งออกและตัวผู้จะสอดขาเข้าไปใน ส่วนท้องของเพศเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อไปเก็บไว้บริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อที่ อยู่ระหว่างจับปิ้งกับอวัยวะช่วยผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์จะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงและปูตัวเมียสามารถเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3 ถึง 4 เดือน ปูมีไข่ในท้องประมาณ 700 ฟอง การจับคู่ของปูจะดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2-3 วัน และปูตัวผู้จะคงเกาะบนหลังของปูตัวเมียเพื่อให้ความคุ้มครองจนกว่าปูตัวเมีย จะแข็งแรงและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปรกติ เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมเป็น ช่วงฤดูจำศีลของปู ปูจะลงรูเพื่อจำศีลและในช่วงนี้ปูจะไม่กินอาหารและไม่เคลื่อนไหวถ้าไม่จำ เป็นเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด ปูจะขึ้นจากรูออกมาหากินอีกครั้งหนึ่งเมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ และจะเริ่มกลับมาผสมพันธุ์อีกครั้งในช่วงต้นฤดูฝน

เนื่องจากในปัจจุบันนี้แหล่งที่อยู่ของปูถูกทำลายลงอีกทั้งยังมีการใช้ยา กำจัดหอยและปูในนาข้าวกันมากส่งผลให้จำนวนปูในธรรมชาติลดลงไปมาก
ปูที่มี อยู่ก็อาจมีการปนเปื้อนของสารเคมีซึ่งจะส่งผลร้ายต่อผู้บริโภค ในอดีตมีปูจำนวนมากตามท้องทุ่งนาชาวบ้านจะออกไปจับปูเพื่อนำมาทำเป็นอาหาร ไว้รับประทาน เช่น ทำลาบปู อ่องปู แกงปูนา ปูดอง ปูนึ่ง หรือหากเก็บปูได้จำนวนมากๆ ก็จะนำไปทำน้ำปูเพื่อเก็บไว้รับประทานเป็นแรมปี แต่ในปัจจุบันการจับปูไม่ ได้ง่ายเหมือนในอดีตเพราะว่ามีจำนวนปูในธรรมชาติน้อยลงทุกๆ ปี ในปี พ.ศ. 2549-2550 ราคาปูนาในช่วงฤดูฝนที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่นั้น มีราคาตั้งแต่ 10-15 บาท ต่อกิโลกรัมแต่ในปีนี้ในบางท้องที่ในจังหวัดลำปางนั้นราคาปูนาสูงถึง กิโลกรัมละ 35 บาท ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปูนาขายได้ในราคาตัวละ 1 บาท จะเห็นได้ว่าในอนาคตราคาของปูนานั้นมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นโดยเฉพาะในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ปูขาดแคลน ในขณะนั้นปูมีราคาถึงกิโลกรัมละ 50 บาททีเดียว จะเห็นได้ว่าปูนาจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคตอย่างแน่นอน ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้ทดลองเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์ทั้งบ่อกลมและบ่อสี่ เหลี่ยมในท้องที่ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้เกษตรกรในท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลมาเป็นเวลาประมาณ 10 เดือน พบว่าปูนานั้นเลี้ยงง่าย กินอาหารง่าย สามารถแพร่พันธุ์ได้ และขั้นตอนในการเลี้ยงไม่ยุ่งยากผู้เลี้ยงไม่ต้องดูแล อะไรมากมายนัก และเกษตรกรผู้เลี้ยงก็มีความสนใจที่จะเลี้ยงอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างรายได้ ให้แก่ครอบครัว



การเตรียมบ่อเลี้ยง การเลี้ยงปูนานั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ แต่พบว่าการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์นั้นจะมีข้อดีกว่าตรงที่สะดวกในการดูแลและ เก็บผลผลิต นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ปูขุดรูหนี บ่อซีเมนต์ที่ใช้เลี้ยงปูนั้น มี 2 ประเภท คือ บ่อกลมและบ่อสี่เหลี่ยมหากผู้ที่สนใจต้องการทดลองเลี้ยงดูก่อนว่าสามารถ เลี้ยงปูได้หรือไม่ ก็ควรจะเลี้ยงในบ่อกลมก่อน บ่อกลมที่ว่าก็คือการนำท่อซีเมนต์ (ท่อที่ใช้ทำถังส้วม) มาเทปูนทางด้านล่างใส่ท่อพีวีซีทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งเพื่อสะดวกต่อการ ถ่ายน้ำ ใส่ดินลงไปและปลูกพืชน้ำ นำปูตัวผู้และปูตัวเมียมาปล่อยลงในบ่อ เลี้ยง บ่อละประมาณ 10-15 ตัว อย่าใส่ปูในบ่อมากนักเพราะปูจะกัดกันเอง ปูตัวไหนที่ขาหลุด ก้ามหลุดให้เก็บออกเพราะว่าจะโดดปูตัวอื่นมารุมทำร้าย ส่วนบ่อสี่เหลี่ยมนั้น อาจใช้บ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลาหรือทำบ่อใหม่โดยการนำอิฐบล็อกมาก่อ กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร และสูง 1 เมตร หรืออาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่อย่าให้สูงมากเพราะจะไม่สะดวกในการดูและและเก็บผลผลิต ใส่ท่อระบายน้ำไปด้วยเพราะจะทำให้สะดวกในเรื่องของการดูแลทำความสะอาด ในบ่อนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของปูโดยการนำเอาดินร่วนปนเหนียวหรือดินตาม ทุ่งนามาใส่ไว้ให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตรของขอบบ่อและทำให้เอียงลง ส่วนที่สองเป็นส่วนที่เป็นน้ำทำโดยลอกเลียนแบบตามสภาพธรรมชาติของแหล่งที่ อยู่ เช่นมีกอข้าวและพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการสังเกตการณ์การเลี้ยงปูในบ่อซีเมนต์ นั้นพบว่าปูสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดีแม้ว่าไม่ใส่น้ำลงในบ่อ

การเลี้ยงและการดูแล
ปูจะขุดรูเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและนิสัยของปูชอบอยู่ในที่เย็นๆ และออกหากินในตอนกลางคืน ปูนาชอบกินเศษซากเน่าเปื่อย กินต้นข้าว กุ้งฝอยและลูกปลาตัวเล็กๆ ผู้เลี้ยงปูสามารถฝึกหัดให้ลูกปูกินอาหารเม็ดโดยใช้อาหารที่ลี้ยงปลาดุก นอกจากนี้ปูนายังสามารถกินผักหรือเศษข้าวสุกเป็นอาหาร สิ่งที่สำคัญอีกอย่าง คือ ผู้เลี้ยงปูจะต้องหมั่นดูแลบริเวณที่อยู่ของปูให้สะอาดโดยต้องเก็บเศษอาหาร ที่ปูกินไม่หมดทิ้ง เพราะหากทิ้งอาหารไว้นานๆจะมีเชื้อราเกิดขึ้นทำให้ปูเกิดโรคได้ เนื่องจาก นิสัยของปูชอบอาศัยอยู่ที่เย็นๆ ดังนั้นผู้เลี้ยงอาจนำกระเบื้องมุงหลังคา ท่อพีวีซี มาใส่ไว้ในบ่อเลี้ยงเพื่อเป็นที่ให้ปูใช้หลบแดดและความร้อนในช่วงเวลากลาง วัน หรืออาจประหยัดงบประมาณโดยการใส่ทางมะพร้าวเข้าไปในบ่อแทน แต่ก็มีข้อเสียเพราะว่าทางมะพร้าวจะเน่าเสียเร็วผู้ดูแลต้องหมั่นดูแลโดยการ เปลี่ยนทางมะพร้าวใหม่อยู่เสมอ



การจำหน่ายปูนา
ช่วงที่เหมาะสมในการจำหน่ายปูนานั้นควรเป็นช่วงฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงที่ปูใน ธรรมชาตินั้นหายาก ราคาประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท อย่างไรก็ตามราคาปูนาที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคมถึงกันยายน นั้นมีราคาประมาณ 15 บาทต่อกิโลกรัมและมีแม่ค้ามาซื้อปูถึงที่โดยผู้เลี้ยงไม่ต้องนำปูไปจำหน่าย เอง อย่างไรก็ตามยังมีความต้องการปูนาในท้องตลาดอีกมาก

.........นิตยา บุญทิม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มช. / ข้อมูล.........

9 ความคิดเห็น:

  1. ชอบครับและอยากทราบว่าระยะเวลาในการเลี้งนานไหม

    ตอบลบ
  2. ถ้าเลี้ยงที่ภาคใต้จะขายได้มั๊ย

    ตอบลบ
  3. ผมกำลังทดลองเลี้ยงอยุ่6 บ่อกลมไม่รุ้ว่าจะได้เรื่องไหมน่ะ

    ตอบลบ
  4. ภาวนาขอให้ปูรุ่นนี้ ช่วยพลิกวิกฤติ พลิกชีวิต ให้ดีอย่างหลายๆคนที่ประสพความสำเร็จ ธุระกิจปูนาด้วยนะ

    ตอบลบ
  5. ตลาดที่รับซื้อปูนามีที่ไหนบ้าง ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ

    ตอบลบ
  6. มีปูนาขายครับกิโลกรัมละ35-40ปูสดๆก้ามใหญ่ๆ

    ตอบลบ